“บ้านปู เพาเวอร์” ตั้งคณะกรรมการ ESG ขับเคลื่อนอนาคตแห่งการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน”

366

การเจริญเติบโตของเมืองทั่วโลก ได้สร้างผลกระทบกับธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราเคยเห็นข่าวน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายกลายเป็นน้ำ คือสัญญาณอันตรายแรกๆ ของธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยขาดการดูแล ป้องกัน และสัญญาณอันตรายนี้ก็ได้กระจายไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมสูงเป็นระดับแนวหน้าของโลก แน่นอนว่า สิ่งแวดล้อมก็ถูกรุกรานจากการเติบโตนี้เช่นกัน 

แต่วันนี้ความตระหนักรู้ถึงการรุกรานธรรมชาติของผู้คน ถูกวางเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของหลายๆ บริษัท โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ที่วางแนวทาง ESG(Environmental, Social, Governance) เป็นรากฐานของการขับเคลื่อนตลาดทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืน ให้ทุกๆ บริษัทมีระบบการดูแลกิจการที่ดี โปร่งใส มีความรับผิดชอบ และคำนึงถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม 

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนองค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมรอบด้าน

กิรณ ลิมปพยอม

กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BPPกล่าวว่า ในทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม มีการตื่นตัวในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก  ทุกคนรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เรื่อง Climate Change เป็นเรื่องที่เป็นจริงทางวิทยาศาสตร์  ทุกองค์กรมีความตื่นตัวในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต เวลานี้ในเรื่องเงินการลงทุนของอุตสาหกรรมทั่วโลก  ทุกๆ ธุรกิจก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก  บ้านปูพาวเวอร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบ้านปู ก็เห็นว่า ESG ต้องเป็นหนึ่งในกลยุทธสำคัญในการทำธุรกิจไปข้างหน้า 

“บ้านปูพาวเวอร์เราเป็นตัวแทนในการทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า ผลิตพลังงานให้กับกลุ่มบ้านปู มีทั้งส่วนที่เป็นโรงงานพลังงานความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนผ่านบริษัทบ้านปูเน็กซ์ที่เราถือหุ้น 50% เราเชื่อเรื่องการทำธุรกิจพลังงานไปในอนาคต ความมั่นคงทางพลังงานเป็นสิ่งสำคัญ หลังการระบาดของโควิดเริ่มซาลง ก็จะเห็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศต่างๆ  ทำให้เรื่องความมั่นคงทางพลังงานกลับมามีความสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมไม่น้อยไปกว่าช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด หรือมีสงครามรบกัน  ดังนั้น ความสมดุลในการสร้าง Port folio การทำเรื่องพลังงานไปในอนาคตน่าจะเป็นใจความสำคัญของทุกบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพลังงานทั่วโลกในเวลานี้  และ BPP ก็มีแนวทางที่เรียวว่า Triple E   สู่เป้าหมายในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม”

แนวทาง “Triple E”  ประกอบด้วย 1. Ecosystem มุ่งสร้างเมกะวัตต์คุณภาพด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อน และพลังงานหมุนเวียน 2. Excellenceความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวน และ 3. ESG การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักความยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) ควบคู่ไปกับการเป็นพลเมืองดีในทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน 

โดยภายใต้แนวทางการดำเนินงานด้าน ESG ของบ้านปู เพาเวอร์ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) ขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ เป็นประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการอิสระทั้งหมด เพื่อให้กเกิดความโปร่งใสและเป็นกลางในการดำเนินงาน และด้วยความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถในหลากหลายด้าน  กิรณ เชื่อมั่นว่าคณะกรรมการ ESG นี้ จะสามารถร่วมมือกับฝ่ายบริหารเพื่อนำพาองค์กรสู่ความยั่งยืน

ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ

ด้าน  ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) กล่าวว่า  บทบาทของคณะกรรมการจะร่วมกำหนดทิศทางและนโยบาย ESG ของบ้านปู เพาเวอร์ ให้มีความเหมาะสม เพื่อนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนอนาคตแห่งการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืนได้สำเร็จ  มีการติดตามและตรวจสอบการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ และเสริมสร้างกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน รวมถึงติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานด้าน ESG ให้ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม  พิจารณาทบทวนนโยบาย เป้าหมาย และผลการปฏิบัติงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ  สอบทานและติดตามกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและกระบวนการประเมินประเด็นที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียจะถูกบ่งชี้และเข้าสู่กระบวนการประเมินความสำคัญ รวมถึงได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม 

“บทบาทของคณะกรรมการชุดนี้คือการดูทิศทาง นโยบาย ดูเป้าหมาย โดยมีการทบทวน ตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความสมดุลที่เหมาะสม และยั่งยืนต่อธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่นักลงทุน ผู้ถือหุ้น แต่ยังรวมถึงชุมชนที่บ้านปู เพาเวอร์เข้าไปลงทุน  ESG ต้องมองให้เห็นถึงโอกาส กำหนดเป็นเป้าหมายการทำงานที่มี ESG เป็นกรอบ ถือเป็นความท้าทายของทีมทำงานที่จะนำคอนเซปต์ ESG มาสร้างความเติบโตและยั่งยืนไปพร้อมกัน แต่ก็มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจะเห็นไปในแนวทางเดียวกัน” ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา กล่าว