ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้าน Clinical Observership สำหรับนักศึกษาแพทย์จากญี่ปุ่น

125

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้บูรณาการความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยร่วมกัน โดยร่วมกับ Tokyo Medical and Dental University ประเทศญี่ปุ่น จัด โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Clinical Observership สำหรับนักศึกษาแพทย์จากประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13 – 24 พฤษภาคม 2567 ณ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล รักษาการคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน พร้อมด้วยคณาจารย์และทีมแพทย์ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ร่วมให้การต้อนรับ

สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Clinical Observership  มุ่งเน้นให้นักศึกษานำความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการของบุคลากรผู้สอน ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาให้บรรลุผลในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดผลการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีในอนาคต โครงการฯ ดังกล่าว ได้จัดเตรียมอาจารย์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้ดูแลนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 6 คน ซึ่งมาเข้าร่วมศึกษาดูงานทางด้านการแพทย์ การวิจัย และนวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์  โอกาสนี้นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมสังเกตการณ์ทางคลินิกร่วมกับแผนกต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ อย่างเต็มที่ อาทิ ร่วมสังเกตการณ์และศึกษาดูงาน การผ่าตัดของศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ ณ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โดยการดูแลของ พญ.อรอรุณ เมฆะทิพย์พันธุ์ ร่วมสังเกตการณ์และศึกษาดูงาน ของแพทย์อายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ณ  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง โดยการดูแลของ นพ. วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์ ฯลฯ 

ท้ายสุด วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีพันธกิจ ด้านการผลิตบัณฑิตแพทย์และการสาธารณสุข ที่มีคุณภาพทางวิชาการและสมรรถนะทางวิชาชีพที่เป็นเลิศ โดยบูรณาการความร่วมมือมีทั้งจัดการเรรียนการสอนและการวิจัยร่วมกัน ในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน Clinical Observership กับ Tokyo Medical and Dental University ประเทศญี่ปุ่น จึงถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอน และบุคลากรทางการแพทย์ ให้คนไข้ได้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างเท่าเทียม