แสนรู้ เปิดอินไซต์ “ทอง” พบคนสนใจซื้อทองพุ่ง 250% เมื่อราคาปรับสู่ 4 หมื่นบาท ชี้ Gen Y นิยมลุงทุนทองผ่านแอปฯ มากที่สุด

258

 “ทองคำ” สินทรัพย์ที่ได้รับความสนใจในช่วงนี้ จากการมีแนวโน้มราคาที่ขึ้นต่อเนื่อง หากคุณซื้อทองเมื่อเดือนมกราคม 2567 ในราคาเฉลี่ย 33,899 บาท และขายในเดือนนี้ (พฤษภาคม 2567) จากราคาทองเฉลี่ย 40,515 บาท จะได้กำไรกว่า 6,616 บาท ด้วยราคาที่ขึ้นสูงจนทำจุดสูงสุดใหม่ (New high) พบเอ็นเกจเมนต์ “ทอง” ในโซเซียลเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 เพิ่มขึ้น 250% เมื่อเทียบ 4 เดือนก่อน และมีความสนใจมาจากคน Gen Y มาเป็นอันดับ 1 ของความสนใจใน “ทอง”

แสนรู้ (Zanroo) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Social Data ได้มีการเก็บข้อมูลจาก Zanroo Social Listening เปิดเผยว่า ทองคำ เริ่มได้รับความสนใจเป็นพิเศษในโลกโซเชียลและมีเอ็นเกจเมนต์ความสนใจเรื่องนี้เพิ่มขึ้น แปรผันตรงกับราคาทองที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดย คำว่า “ทอง”  สร้างความสนใจในโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 250% เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนสุดท้ายของปีผ่านมา วันที่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2566 พบการดู คอมเมนต์ ไลค์ แชร์ ในโซเชียลมีเดียจำนวน 208 ล้านเอ็นเกจเมนต์ เมื่อเทียบกับปีนี้ วันที่ 1 มกราคม – 21 พฤษภาคม 2567 สร้างการดู คอมเมนต์ ไลค์ แชร์ ในโซเชียลมีเดียทั้งหมดกว่า 568 ล้านเอ็นเกจเมนต์ ได้รับเอ็นเกจเมนต์จากช่องทาง TikTok มากที่สุดถึง 84% ( 473192493 เอ็นเกจเมนต์), YouTube 14% (78865416 เอ็นเกจเมนต์) Facebook 2% (11266488 เอ็นเกจเมนต์) ตามลำดับ โดยจากเอ็นเกจเมนต์การกล่าวถึงทองทั้งหมดพบว่า Gen Y (อายุ 21-37 ปี)  มีความสนใจเรื่องทองมากที่สุด จำนวน 289,845,415 เอ็นเกจเมนต์ คิดเป็น 51 % Gen X (อายุ 38-53 ปี) จำนวน 242,229,491 เอ็นเกจเมนต์ คิดเป็น 43%, Gen Baby boomer (อายุ 54-72 ปี) จำนวน 22,532,975 เอ็นเกจเมนต์ คิดเป็น 4% ตามลำดับ 

โดยราคา “ทอง” ที่มีการปรับตัว สร้างให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการซื้อทองมากกว่าการขายทอง มีการดู คอมเมนต์ ไลค์ แชร์ ดังนี้

  • การซื้อทอง ได้รับ 281,779,952 เอ็นเกจเมนต์ คิดเป็น 52%  ส่วนใหญ่เป็นคอนเทนต์การชื้อทอง การออมทอง รวมไปถึงซื้อทองผ่านแอปพลิเคชัน เพราะเชื่อว่าทองจะมีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • การขายทอง ได้รับ 65,026,142 เอ็นเกจเมนต์  คิดเป็น 12% โดยเป็นคอนเทนต์การขายทองแล้วได้กำไรที่ดี และแนะนำการขายเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
  • การพูดถึงราคาทองขึ้น-ลง ได้รับ 124,633,440 เอ็นเกจเมนต์ คิดเป็น 23% ส่วนใหญ่กล่าวถึงราคาทองที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยที่ทำให้ทองขึ้นราคาทั้งจากปัจจัยนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย, ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ, ความเสี่ยงทางการเมืองและระบบการเงิน

สะท้อนถึงพฤติกรรมความสนใจในการซื้อหรือลงทุนทองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ จุดที่ทองทำราคาสูงสุดใหม่ (New High) วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ทองมีการทำราคา New High (34,250 บาท) พบว่ามีความใจเกี่ยวกับการซื้อทอง (742,945 เอ็นเกจเมนต์) มากกว่าขายทอง (584,270 เอ็นเกจเมนต์) จำนวน 27% และเมื่อทองมีการทำราคา New High อีกครั้งที่ราคา 38,550 บาท ในวันที่ 30 มีนาคม 2567 ความสนใจการซื้อทอง (731,895 เอ็นเกจเมนต์) มากกว่าขายทอง (454,040 เอ็นเกจเมนต์) จำนวน 61% และทำราคาสูงที่สุด ในช่วงวันที่ 20 เม.ย. 2567 จนมีราคา 41,700 บาท ความสนใจการซื้อทองมีสัดส่วนถึง 560% เมื่อเทียบการขายทอง (ซื้อทอง 2,023,725 เอ็นเกจเมนต์, ขายทอง 357,395 เอ็นเกจเมนต์) ส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงการซื้อทอง หรือการแนะนำลงทุนทอง เนื่องจากมีการทำ New High ครั้งประวัติศาสตร์ในราคาหลักสี่หมื่นบาท และในช่วงวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ทองมีการปรับตัวขึ้นอีกครั้งที่ราคา 41,550 บาท โดยพบความสนใจการซื้อทองมากกว่าขายทองถึง 1,823% (ซื้อทอง 54,095 เอ็นเกจเมนต์, ขายทอง 2,967 เอ็นเกจเมนต์)

จากความสนใจในการซื้อทอง พบว่ามีการเลือกซื้อผ่านหน้าร้านมากขึ้นในปีนี้กว่า 51%  เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนท้ายของปี 2566 (สิงหาคม – ธันวาคม 2566) โดยได้รับความสนใจ 76,744,836 เอ็นเกจเมนต์ (มกราคม-พฤษภาคม 2567) มาจาก Gen Y 57%(43,744,557 เอ็นเกจเมนต์) และ Gen X 43%(33,000,279)  ในทางกลับกันความสนใจในการซื้อผ่านแอปพลิเคชันกลับลดลงกว่า 20% ได้รับความสนใจ 17,290,179 เอ็นเกจเมนต์ (มกราคม-พฤษภาคม 2567)  คาดว่าเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน เนื่องจากทองราคาขึ้นจากเหตุการณ์สงครามอิหร่าน-อิสราเอล หลายแอปพลิเคชันมีการปิดการซื้อ-ขาย จากการผันผวนของราคาทองโลก โดยความสนใจการซื้อในแอปพลิเคชันทั้งหมดมาจาก Gen Y คิดเป็น 60% และ Gen X  40%