สัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก รณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในผู้ใหญ่

34

สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก” (World Immunization Week) ตรงกับวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปี สำหรับปีนี้ กรมอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดธีม “Humanly Possible: Saving lives through immunization” เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน พร้อมรณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบคลุมเข้าถึงทุกช่วงวัยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและความรุนแรงจากการเจ็บป่วย

พญ. บุษกร มหรรฆานุเคราะห์

พญ. บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า GSK ในฐานะบริษัท Biopharma ชั้นนำของโลก ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดย GSK มุ่งมั่นในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้สามารถก้าวนำการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ พร้อมร่วมสนับสนุนทุกภาคส่วนในการรณรงค์ให้ผู้คนเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

“GSK ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ด้วยวัคซีนเช่นเดียวกับเด็ก เพราะผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงตามอายุและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเป็นโรคแทรกซ้อนได้ง่าย การป้องกันการติดเชื้อจึงมีประโยชน์เมื่อเทียบกับปัญหาสุขภาพหากเกิดการติดเชื้อแล้ว” พญ. บุษกร กล่าว

ซึ่งการที่ผู้ใหญ่ได้รับวัคซีนน้อยจะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพโดยรวม เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและประชากรกลุ่มนี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2566 พบว่า ไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 13,006,493 คน คิดเป็น 20.06% ของประชากรรวม มีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 8,853,566 คน คิดเป็น 13.66% ของประชากรรวม

“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลโดยรวม เนื่องในสัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลกนี้ เราต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อรับมือกับแนวโน้มของประชากรสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี เราต้องเปลี่ยนจาก “การดูแลผู้ป่วย” ไปสู่ “การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน” การสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่จึงเป็นแนวทางที่สำคัญ” พญ. บุษกร กล่าว

ทั้งนี้ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตัวอย่างเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนงูสวัด วัคซีนมะเร็งปากมดลูก วัคซีนไข้เลือดออก และวัคซีนนิวโมค็อกคัส  เป็นต้น

Reference
– World Immunization Week 2024. (n.d.). Who.int. Retrieved April 19, 2024, from https://www.who.int/campaigns/world-immunization-week/2024
– สถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ แยกตามช่วงอายุ(ปี) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีสัญชาติไทย. (n.d.). ระบบสถิติทางการทะเบียน. Retrieved April 19, 2024, from https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableAge
– IDAT;2023;1-37