GSK ร่วมกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2567” สานต่อโครงการ “จีเอสเค ธนาคารยาเพื่อบรรเทาทุกข์”

736

GSK ผู้นำด้านชีวเภสัช หรือ Biopharma เดินหน้าสานต่อโครงการ “จีเอสเค ธนาคารยาเพื่อบรรเทาทุกข์” ร่วมสนับสนุนกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2567” โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนโนบาย “ยาดีเข้าถึงได้” ส่งเสริมการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยอย่างทั่วถึง นำทีมโดยบุคลากรจิตอาสาร่วมลงพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาโรค บริการทันตกรรม และให้ความรู้ด้านสุขศึกษา พร้อมมอบเครื่องกันหนาวแก่ประชาชนจำนวน 3,500 ชุด ณ จังหวัดลำปา

โสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวว่า GSK มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนโยบาย “ยาดีเข้าถึงได้” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงยา การรักษา และการป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง เพื่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้ริเริ่มโครงการจีเอสเค ธนาคารยาเพื่อบรรเทาทุกข์ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัยให้ดียิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ปีที่ 12 ในครั้งนี้ GSK ได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2567” โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และภาคีเครือข่าย เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนเพื่อช่วยเหลือปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ บรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยหนาวในพื้นที่ อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว จังหวัดลำปาง”

ทั้งนี้ GSK ภายใต้โครงการจีเอสเค ธนาคารยาเพื่อบรรเทาทุกข์ ได้นำทีมบุคลากร ทั้งแพทย์ เภสัชกร และพนักงานจิตอาสา ร่วมสนับสนุนกิจกรรมประกอบด้วย การมอบเครื่องกันหนาวแก่ผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 3,500 ชุด ชุดวอร์มพร้อมเครื่องกันหนาวสำหรับเด็ก จำนวน 1,500 ชุด มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์กีฬา ยา เวชภัณฑ์สำหรับห้องพยาบาลโรงเรียนในชนบท มอบตู้ยาสามัญประจำบ้าน ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป และโรคทางทันตกรรม พร้อมให้ความรู้ด้านสุขศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมเยือนบ้านผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการเพื่อมอบเครื่องกันหนาวและตรวจสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน 30 ครอบครัว โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา