ม.อ. ชู 6 เป้าหมาย SDGs เร่งพัฒนาภาคใต้ มุ่งส่งเสริมสุขภาพ งานวิจัย สร้างสรรค์สันติภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยั่งยืน

476

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและสังคมภาคใต้ มุ่งการขับเคลื่อน  เป้าหมาย ภายใต้แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)  ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ ครอบคลุมมิติทั้งด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับนานาชาติ  

          ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ม.. มุ่งมั่นดําเนินพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางบริหารงานและมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals(SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่มีสมาชิก 193 ประเทศทั่วโลก โดยมี 17 เป้าหมาย  230 ตัวชี้วัด เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน ตามกรอบการพัฒนาโลกให้บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในปี 2573 

ทั้งนี้ ม.ได้ตั้งคณะกรรมการการพัฒนาด้านความยั่งยืนเพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานของคณะและหน่วยงานต่างๆ ของทั้ง วิทยาเขต กำหนดนโยบายการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านกายภาพ ทั้งด้านพลังงาน การจัดการน้ำ การจัดการขยะ การจัดระบบขนส่งสาธารณะ และสิ่งแวดล้อม และการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งระดับชุมชนท้องถิ่น หน่วยภาครัฐ องค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยดำเนินกิจกรรมครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมาย และมุ่งเน้น 6 เป้าหมาย ของ SDGs ที่เหมาะกับการพัฒนาสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมในพื้นที่ภาคใต้ 

ผศ. ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีฝ่ายระบบสารสนเทศและวางแผน วิทยาเขตปัตตานี และกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการพัฒนาด้านความยั่งยืนของ ม.กล่าวว่า.ได้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับมหาวิทยาลัย วิทยาเขต คณะ บุคลากร และนักศึกษา ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมุ่งเน้นใน 6 เป้าหมาย ได้แก่ 

1.) เป้าหมายที่ 3: การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG3 Good Health and Well-being) โดยมหาวิทยาลัยมีการพัฒนาการเรียนการสอน และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นเลิศ อีกทั้งยังมีการให้บริการประชาชนทั่วไปผ่าน รพ.สงขลานครินทร์, รพ.ทันตกรรมรพ.แพทย์แผนไทย และโครงการจัดตั้งศูนย์สุขภาพอันดามัน 

2.) เป้าหมายที่ 7: ด้านพลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ (SDG7 Affordable and Clean Energy) สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือก การประหยัดพลังงาน การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ช่วยในการลดการใช้พลังงาน โดยมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะในแต่ละอาคารโดยใช้ระบบสารสนเทศในบางวิทยาเขต และจะขยายการดำเนินงานดังกล่าวไปในทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ ม.อ. เป็นศูนย์กลางการใช้พลังงานทางเลือในภาคใต้และเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการให้กับชุมชนต่างๆ พร้อมจัดระบบขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยและปรับปรุงเส้นทางเดินเท้าเพื่อลดการใช้พาหนะ 

3.) เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG14 Life Below Water) 4.) เป้าหมายที่15ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG15 Life on Land) ด้วยที่ตั้งที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ของไทย มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับทรัพยากรชายฝั่งและสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทางทะเล รวมทั้งทรัพยากรบนบกและพืชพรรณต่างๆ ที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในคาบสมุทรไทย มีหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยร่วมมือกับเครือข่ายภายนอก สนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ประชาชนและชุมชน 

5.) เป้าหมายที่ 16การส่งเสริมสันติภาพ ความยุติธรรมและสถาบันที่เข้มแข็ง (SDG16 Peace, Justice and Strong Institutions) มหาวิทยาลัยมีโอกาสได้ดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ผ่านหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการเรียนการสอน งานวิจัย และรวมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมกับชุมชนและพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนภาคใต้ในทุกด้าน และ 6.) เป้าหมายที่ 17การสร้างพันธมิตรเพื่อเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (SDG17 Partnership for The Goalsมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการพัฒนาจากนักศึกษา บุคลากร หน่วยงานภายในและภาคีภายนอกมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ 

          “นับเป็นก้าวสำคัญของ ม.. ที่จะร่วมสร้างความยั่งยืนและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อดูแลชุมชนในมหาวิทยาลัยทั้ง 5 วิทยาเขต ทั้งนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายใน และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ภาคใต้ ประเทศ และประชาคมโลก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผศ. ดร.อัตชัย กล่าว