ถอดรหัสความสำเร็จ เมกา บางนา Meeting Place ของกรุงเทพฯตะวันออก

1995

หากพูดถึงทำเล “บางนา”  ในช่วง 20 ปีก่อน คงเป็นเพียงพื้นที่ทางผ่านของผู้ที่จะเดินทางไปยังภาคตะวันออกของประเทศ  กระทั่งปี 2549 เกตเวย์ทางคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการ ก็เหมือนเป็นสัญญาณการปลุกให้ย่านบางนาเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จนเมื่อปี 2555 สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์  และอิกาโน กรุ๊ป สวีเดน ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ในการพัฒนาพื้นที่บนถนนบางนา-ตราด ครั้งสำคัญ  ด้วยการพัฒนาพื้นที่ 400 ไร่ บนถนนเทพรัตน์ (บางนา-ตราด)  กิโลเมตรที่ 8  ช่วงตัดถนนกาญจนาภิเษก สร้างเป็นศูนย์การค้าแนวราบ Low-Rise ขนาดใหญ่ ในชื่อ  “เมกา บางนา”

เมกา บางนา เมื่อ 6 ปีที่แล้ว อาจเป็นแบรนด์ใหม่ของธุรกิจค้าปลีก แต่สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ ไม่ใช่ผู้ประกอบการหน้าใหม่   เอสพละนาด คอมมูนิตี้มอลล์บนถนนรัชดาภิเษก  หรือ เจ อเวนิว ในซอยทองหล่อ  คือผลงานความสำเร็จก่อนหน้า  ขณะที่อิกาโน คือผู้บริหารห้างสรรพสินค้าเฟอร์นิเจอร์อันดับ 1 ของโลก “ อีเกีย

ถึงวันนี้ เมกา บางนา ได้กลายเป็น  ไลฟ์สไตล์มอลล์ อันดับ 1 ของคนกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก  ด้วยจำนวนผู้มาใช้บริการสูงถึงราวเดือนละ  3.5 ล้านคนต่อเดือน หรือ 42 ล้านคนต่อปี

สิรินฉัตร แสงศรี  ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้า เมกา บางนา  เล่าถึงความสำเร็จของเมกาบางนา ว่า  ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ร่วมก่อตั้งที่มองภาพเมกาบางนา ไปไกลกว่าการเป็น Shopping Destination  แต่จะก้าวไปถึงการเป็น Meeting Place ที่ผู้บริโภคจะสามารถเดินทางมาพบปะผู้คน  ใช้ชิวิตตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้อย่างครบถ้วน

“คอนเซปต์ Meeting Place สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากที่เคยอยู่แต่ในบ้าน ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวได้ แต่ปัจจุบัน ผู้คนเลือกที่จะออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น  เราสังเกตเห็นจากพฤติกรรมของลูกค้าของเมกา บางนาเอง พบว่า ชั่วโมงการเข้ามาใช้บริการยาวนานขึ้น  เพราะที่นี่มีครบตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์”

            แต่การสร้าง Meeting Place ให้ประสบความสำเร็จ สิริฉัตร กล่าวว่า มี 3 ส่วนสำคัญ

ส่วนที่ 1  Tenant Mix ส่วนผสมของร้านค้าที่อยู่ภายในศูนย์   เมกาบางนา รับฟังความเห็นของลูกค้านับตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ ความต้องการของลูกค้า สิ่งที่ชอบ หรือไม่ชอบ ถูกนำมาเข้าอยู่ในแผนพัฒนาของเมกาบางนาทุกปี  เพื่อคัดสรรสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะต้องการให้ Customer Journey เมื่อเดินเข้ามาในศูนย์ สร้างประสบการณ์ให้มากกว่าการมาช้อปปิ้ง  เช่น การเปิดโซนร้านอาหารเพิ่ม  เพิ่มที่จอดรถให้มากขึ้น  โซนสวนสีเขียวเพื่อการพักผ่อน  นอกเหนือจากร้านค้ากว่า 400 ร้านค้า และแม็กเน็ตอย่าง  อีเกีย, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์,  โฮมโปร, เดอะ มาร์เวล เอ็กซ์พีเรียนซ์, โรบินสัน, บิ๊กซี และท้อปส์มาร์เก็ต เป็นต้น  ครบครัน และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

ส่วนที่ 2  Marketing Strategy กลยุทธ์การตลาด ถือเป็นงบประมาณก้อนใหญ่ที่เมกา บางนา ใช้เพื่อวางกลยุทธ์ในการดึงลูกค้าเข้าสู่ศูนย์การค้า  ด้านการสื่อสารการตลาด มีการผสมผสานสร้างความสมดุลระหว่าง ออนไลน์กับออฟไลน์ เพื่อให้มันเกิดความสัมพันธ์กัน  สื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ มีการใช้ Influencer  เพื่อสร้างความสนใจ  ขณะที่สื่อออฟไลน์  ทั้งป้ายบิลบอร์ด  จอ LED  อินสโตร์มีเดีย สื่อภายในศูนย์การค้า และสื่อบนรถไฟฟ้าบีทีเอสที่จะสามารถขยายพื้นที่ลูกค้าเป้าหมายออกไปให้ไกลขึ้นตามแนวรถไฟฟ้า

ด้านการจัดกิจกรรมสนับสนุนการตลาด มีการจัดกิจกรรมในหลายรูปแบบ ทั้งการมอบสิทธิพิเศษให้กับ  Mega Smile Rewords   หรือความร่วมมือกับผู้ให้บริการบัตรเครดิต  โอเปอเรเตอร์เครือข่ายมือถือ รวมไปถึงร้านค้าศูนย์ เพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า

นอกจากนั้น เมกาบางนา ยังมีการจัดกิจกรรมตามช่วงเทศกาลสำคัญตลอดทั้ง  เช่น งานวันเด็กรูปแบบใหม่ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับครอบครรัว   งานสงกรานต์ที่มีการสร้างสวนน้ำขนาดใหญ่ให้ได้เล่นน้ำ   บ้านผีสิงในเทศกาลฮาโลวีน ที่มาในแนว  Survival Adventure  และงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก

ส่วนที่ 3 Operation  การบริหารจัดการ  เมกาบางนา มีความมั่นใจในเรื่องการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด โดยพนักงานของบริษัท รวมถึงพนักงานของร้านค้า มีการพูดคุย วางแผน ประสานการทำงานร่วมกัน บูรณาการแบบ 100% มีการเตรียมแผนรับสถานการณ์ต่างๆ มีช่องทางการสื่อสารถึงกัน  เมื่อปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าเรื่องเล็ก หรือใหญ่ ระดับบริหารทุกคนรับทราบ หากเป็นเรื่องเล็ก ระดับพนักงานแก้ปัญหาไป แต่ถ้าขยายเป็นเรื่องใหญ่ ผู้บริหารจะลงมาดูแล

ทั้ง 3  ส่วนล้วนเป็นส่วนผสมที่สร้างความสำเร็จให้กับเมกา บางนา เติบโตเรื่อยมาจนถึงปีที่ 7

สิรินฉัตร  ยังมองถึงแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกย่านบางนา ที่ยักษ์ใหญ่อย่างเซ็นทรัล และเดอะมอลล์ มีแผนในการพัฒนาธุรกิจในพื้นทีนี้ว่า หากมองในเรื่องการแข่งขันเชิงธุรกิจ ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่ตนมองเป็นเรื่องดี ที่ทุกฝ่ายจะมาช่วยกันสร้างให้บางนา เป็น  Ecosystem ที่ดีของ Retail Business   เมื่อมีผู้ประกอบการหลากหลายเข้ามาเติมเต็ม  บางนาจะกลายเป็น Magnet Area ที่ดึงให้ทุกคนอยากจะเข้ามาสัมผัส

ส่วนเป้าหมายของเมกาบางนา  คือการสร้างศูนย์การค้าที่ครบครัน  ทำให้เมกาบางนา เป็นแบรนด์ที่ Sustainability Destination  ของกรุงเทพฝั่งตะวันออก  เป็น Top of The Mind ที่ทุกคนจะนึกถึงให้เมกาบางนาเป็น Lifestyle Destination  ของทุกคนที่มา และได้รับความประทับใจกลับไป