รายงานวิจัยล่าสุดจาก Oxford Economics เผยให้เห็น “เทรนด์พรีเมียม” หรือการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) กำลังกลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบริการและค้าปลีกของประเทศไทย เทรนด์นี้สอดคล้องกับเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปี 2567 ที่มุ่งเน้นการดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3.5 ล้านล้านบาท โดย ททท. ให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานและส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหนือระดับ เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่พิเศษไม่เหมือนใคร
“เทรนด์พรีเมียม” หรือการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) หมายถึงการที่ผู้คนเลือกใช้จ่ายสินค้าและบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่และน่าจดจำมากขึ้น จากข้อมูลของ IWSR พบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการจับจ่ายทั่วโลก เติบโตจากผู้คนที่ใช้จ่ายเงินกับเครื่องดื่มคุณภาพดีมากขึ้น โดยรายงานที่ชื่อว่า “International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam” จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม
ดาวิเด เบซานา ผู้อำนวยการ APISWA กล่าวว่า “ที่ APISWA เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้คนตระหนักถึงการบริโภคสุราและไวน์อย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมโดยภาพรวมให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงภาคการบริการและการท่องเที่ยวด้วย
การยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจในไทยและภูมิภาค เพื่อเร่งการฟื้นฟู เติบโต และขยายตัว เทรนด์นี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
“เราจะเห็นว่าไวน์และสุราจากต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคธุรกิจการบริการและการค้าปลีกระดับพรีเมี่ยม ซึ่งอุตสาหกรรมโดยภาพรวมจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สมดุลและครอบคลุม เราหวังว่าข้อมูลจากในรายงานนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ดี และนำไปสู่การปรึกษาหารือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับธุรกิจในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าระดับพรีเมียมและบริการมากขึ้น”
ในรายงาน ได้มีการสรุปประเด็นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและภาคธุรกิจของประเทศไทยเข้าใจและสามารถคว้าโอกาสจากเทรนด์ “พรีเมียม” ได้ชัดเจนขึ้น โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
- การยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ (Premiumization) สามารถส่งเสริมวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ประเทศไทยพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังการซื้อสูง หลังจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมา ไวน์และสุราจากต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้บริการระดับพรีเมี่ยม โดยที่ “การค้าปลีกและอาหารและเครื่องดื่ม” พบว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญนักท่องเที่ยวผู้มีฐานะพิจารณาเมื่อเลือกจองวันหยุด รองจาก “สุขภาพและความปลอดภัย”
- การขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศมีส่วนช่วยทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศไทย ซึ่งรวมถึง GDP ของประเทศไทยในปี 2565 มูลค่า 198 ล้านเหรียญสหรัฐ (6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากปี 2564 ซึ่งสนับสนุนการสร้างงาน20,500 ตำแหน่งและสร้างรายได้จากภาษี 292 ล้านเหรียญสหรัฐ (10.0 พันล้านบาท) ในปี 2565
- เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเทรนด์ “พรีเมียม” รัฐบาลควรสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไวน์และสุราทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยรายงานเน้นย้ำว่า ความต้องการไวน์และสุราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลสู่ผลิตภัณฑ์ในประเทศรวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางขึ้น นำไปสู่ผลกระทบเชิงบวกอย่างทวีคูณ อันหมายถึง โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในท้องถิ่น การจ้างงานที่มีมูลค่าสูง สัดส่วนของกำไรและภาษีที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการบริการและค้าปลีก
โดยรายงานฉบับนี้ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลในงานเสวนาที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง APISWA และOxford Economics โดยมี เขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทยกล่าวต้อนรับ โดยมี Liam Cordingley นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ นำเสนอข้อมูลจาก Oxford Economics ซึ่งวิทยากรในงานเสวนา ประกอบด้วย:
- คุณรัชฎา รัชฎา วานิชกร ผู้อำนวยการ สำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต
- คุณญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาและกรรมการสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน
- คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย และกรรมการภาคเอกชน
- คุณเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย
ในงานนี้ ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและนักธุรกิจจากกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการบริการและค้าปลีก รวมถึงตัวแทนภาครัฐ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม และนักวิชาการเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง