โรงงานน้ำตาล ส่งสัญญาณอุตสาหกรรมที่ใช้เอทานอลเป็นวัตถุดิบ รับมือต้นทุนผลิตเพิ่ม

726

โรงงงานน้ำตาล ส่งสัญญาณอุตสาหกรรมที่ใช้เอทานอลเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าเตรียมรับมือต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ หลังปริมาณกากน้ำตาล ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาล มีปริมาณลดลงตามทิศทางปริมาณอ้อย ส่งผลให้ราคากากน้ำตาลที่นำไปทำเป็นเอทานอลปรับตัวเพิ่ม และกระทบเป็นลูกโซ่สูงอุตสหากรรมที่ใช้เป็นเอทานอลเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าต่อไป 

            สิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า จากการประเมินปริมาณอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ที่คาดว่า จะมีผลผลิตอ้อยเหลือเพียง 70 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่นำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลไปสร้างมูลค่าเพิ่ม มีความเสี่ยงจากวัตถุดิบที่มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กากน้ำตาล หรือ โมลาส ที่คาดว่าจะมีปริมาณลดลงในทิศทางเดียวกับผลผลิตอ้อย หลังจากในรอบการผลิตของปีก่อนมีปริมาณกากน้ำตาลอยู่ที่ 3.38 ล้านตัน หรือคิดเป็นปริมาณกากน้ำตาลต่อตันอ้อยอยู่ที่ 45.24 กิโลกรัม

ทั้งนี้ ด้วยแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ราคากากน้ำตาลมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเอทานอล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่นำโมลาสไปเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนโมลาสที่เพิ่มขึ้น อีกทั้ง คุณภาพผลผลิตมันสำปะหลังในปีนี้ก็ลดลง กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบมันสำปะหลังไปผลิตเป็นเอทานอลสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องทิศทางความต้องการบริโภคเอทานอลภายในประเทศ

           ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่นำกากน้ำตาล (โมลาส) ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมผลิตสุราและอุตสาหกรรมยาจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

         ผลผลิตอ้อยเข้าหีบ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบต้นน้ำในปีนี้ที่ คาดว่า จะมีปริมาณลดลง ทำให้ปริมาณโมลาสที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเมื่ออุปทานในตลาดลดลงแต่ดีมานด์ยังสูงจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ราคจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้นและส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องบริหารความเสี่ยงจากภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ดี” สิริวุทธิ์ กล่าว

        ขณะที่ปริมาณกากอ้อย หรือชานอ้อย ที่ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงไฟฟ้าพลัง งานชีวมวลเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานภาครัฐนั้น เชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการโรงงานแต่ละรายจะสามารถบริหารซัพพลายด้านวัตถุดิบได้เพียงพอ จึงเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก