บลจ.พรินซิเพิล ดีเดย์ 1 เมษาฯ เปิด 3 กองทุนเพื่อการออม SSF

483

บลจ.พรินซิเพิล ประเมินภาพรัฐบาลเร่งออกมาตรการเยียวยาและการเพิ่มความเข้มงวดควบคุมโรค มาตราการการเงิน-การคลังจะช่วยลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจจาก COVID19  ชี้หุ้นไทยในปัจจุบันราคาถูกเมื่อเทียบกับในอดีต พร้อมเปิดตัวกองทุนรวมเพื่อการออม (SSFกอง พรินซิเพิล เซ็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม (PRINCIPAL SET50SSF) ทั้งชนิดเพื่อการออมและเพื่อการออมพิเศษ ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ใน SET 50 เสนอขายครั้งแรก 1-10 เมษายนนี้ กองทุน พรินซิเพิล ไทย ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL TDIF-SSF) ชนิดเพื่อการออม เน้นลงทุนหุ้นปันผลดี และกองทุน พรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซ์ อินคัม (PRINCIPAL i&PROPEN-SSF) ชนิดเพื่อการออม เน้นลงทุนสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดขายหน่วยลงทุนตั้งแต่ เมษายนนี้เป็นต้นไป

            จุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่จะไม่ถึงขั้นเลวร้าย เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่าในปัจจุบันช่วยบรรเทาผลกระทบในภาคการส่งออกที่เป็นสัดส่วนรายได้หลักประมาณ 77% ของ GDP ปี 2562 ขณะที่รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีความเข้มงวดมากขึ้น อาทิ การปิดศูนย์การค้า ตลาดนัด สถานบันเทิง ชั่วคราว, การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯลฯ และเร่งออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและอาจถูกเลิกจ้างงาน เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือ Soft Loan แก่ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบผ่านสถาบันการเงิน, การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า, การพักและขยายระยะเวลาชำระหนี้สถานบันการเงิน, ลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคมชั่วคราวทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง, ให้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มแก่ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

            ทั้งนี้ ราคาหุ้นไทยในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับในอดีตหรือเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ โดยค่า P/ของตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอยู่ที่ 11.3 เท่า และหากพิจารณาจากสถิติผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นไทย ปีหลังจากเกิดโรคระบาด เช่น SARSMERSEbola เป็นต้น พบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นไทย ปีหลังจากเกิดโรคระบาดปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 30% (ที่มา: Blomberg, Principal Asset Management, 19 Mar 2020)

จุมพล กล่าวต่อว่า บลจ.พรินซิเพิล ต้องการเป็นส่วนหนึ่งร่วมส่งเสริมประชาชนออมเงินในระยะยาวเพิ่มขึ้น ผ่านกองทุนรวมเพื่อการออมหรือ Super Savings Fund (SSF) เพื่อรับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ในการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีผ่านการซื้อหน่วยลงทุน

กองทุน SSF ดังกล่าวมี รูปแบบ ได้แก่ 1.กองทุนเพื่อการออมพิเศษหรือ Super Savings Fund Extra Class (SSFX) ระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุน 10 ปี (นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุน) สามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ตั้งแต่เดือนเมษายน  มิถุนายน 2563 โดยมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท (ไม่รวมกับวงเงินซื้อหน่วยลงทุนกองทุน SSF แบบปกติ) และสามารถสลับกองทุนได้เฉพาะกองทุน SSF พิเศษ หรือกองทุน SSF ที่มีนโยบายการลงทุนสอดคล้องกับกองทุนต้นทาง และ/หรือเป็นไปตามมติครม.เท่านั้

2. กองทุนเพื่อการออมหรือ Super Savings Fund Class (SSF) มีระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุน 10 ปี (นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุน) โดยจะซื้อหน่วยลงทุน SSF กองใดก็ได้ในปี 2563-2567 ทั้งนี้ กองทุน SSF สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปีภาษี และในระยะเวลา 10 ปีที่ถือครองหน่วยลงทุนสามารถสับเปลี่ยนไปยังกองทุน SSF กองอื่นได้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้เปิดตัวกองทุนรวมเพื่อการออม (SFF) 3 กอง ได้แก่

1. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เซ็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม หรือ Principal SET50 Index Super Savings Fund (PRINCIPAL SET50SSF) โดยมีนโยบายลงทุนแบบ Passive Management บนดัชนีอ้างอิง SET 50 ในลักษณะ Fully replicate เป้าหมายเพื่อทำผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้ได้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงไปตลอด กองทุนนี้จะมีให้เลือก รูปแบบ ได้แก่ ชนิดเพื่อการออมพิเศษ Super Savings Fund Extra Class (PRINCIPAL SET50SSF-SSFX) และชนิดเพื่อการออม  (PRINCIPAL SET50SSF-SSF) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 1-10 เมษายน 2563

2. กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไทย ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ ชนิดเพื่อการออม หรือ Principal Thai Dynamic Income Equity Fund SSF (PRINCIPAL TDIF-SSF) มีนโยบายลงทุนตามคอนเซปต์ Smart Dividend เลือกหุ้นที่จ่ายปันผลระดับที่เหมาะสม และบริหารเงินทุนแบบ Total Return เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่Defensive เพื่อลดผลกระทบด้านความผันผวนของตลาดหุ้น โดยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกหุ้นที่ลงทุน อาทิ เป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลที่ดีและได้รับ CG Score 3 ดาวขึ้นไป มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าตลาด มีกระแสเงินสดที่ดี ฯลฯ เพื่อคัดเลือกหุ้น  25-30 หลักทรัพย์ที่จะเข้าลงทุน กองทุนนี้เป็นการเปิดเสนอขายชนิดเพื่อการออม (Class SSF) เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนตั้งแต่ เมษายน 2563 เป็นต้นไป

3. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์เฟล็กซ์ อินคัม ชนิดเพื่อการออม  หรือ Principal Enhanced Property and Infrastructure Flex Income Fund SSF (PRINCIPAL iPROPEN-SSF) จุดเด่นของกองทุนฯ คือเน้นลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในอสังหาริมทรัพย์คุณภาพดีที่มีรายได้ค่าเช่ามั่นคงและกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างรายได้สม่ำเสมอและโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำถือเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์กลุ่มนี้ กองทุนนี้เป็นการเปิดเสนอขายชนิดเพื่อการออม (Class SSF) เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนตั้งแต่ เมษายน 2563 เป็นต้นไป

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.พรินซิเพิล กล่าวอีกว่า การลงทุนในกองทุนเพื่อการออม SSF นับเป็นจังหวะและโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนเพื่อการออมระยะยาวและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มเสถียรภาพของตลาดทุนไทยตามนโยบายของภาครัฐ

ทั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืน และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595 หรือ www.principal.th