ดิจิทัลไม่ได้มีไว้เพื่อการปรับตัวตั้งรับ แต่ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ดิจิทัล คือโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมการบริการรูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
บริษัทประกันภัยชื่อไทยไทย ที่ก่อตั้งในยุคการขนส่งสินค้ามีความเสี่ยงสูง เติบโตขึ้นมาถึงปัจจุบันภายใต้การบริหารของ จีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
แม้เป็นบริษัทประกันของคนไทย แต่วิธีคิดของผู้บริหารไทยวิวัฒน์ สร้างให้เป็นบริษัทประกันภัยที่นำหน้าเรื่องเทคโนโลยีมาโดยตลอด
ในปี 2523 ไทยวิวัฒน์มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรับประกันภัย พร้อมนำเอาระบบวิทยุสื่อสารมาใช้ในอีก 4 ปีต่อมา จนในปี 2532 ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ก็ได้รับรางวัล HI-TECH Award ด้านการบริการ
ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ยังมีการเปิด “Thaivivat Smart Solution” ที่นำเทคโนโลยี GPS มาประยุกต์ใช้ในการติดตามทุกความเคลื่อนไหวของการให้บริการ เสริมด้วยระบบ Mobile Tracking ที่ส่งพิกัดตำแหน่งโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้ทราบถึงจุดเกิดอุบัติเหตุหรือจุดที่ต้องการความช่วยเหลือ
ถึงวันนี้ แม้จีรพันธ์ ยังคงดูแลด้านการบริหารธุรกิจโดยรวมของประกันภัยไทยวิวัฒน์ แต่สำหรับงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับการบริหาร ได้มอบหมายให้ ทายาทคนรุ่นใหม่ เทพพันธ์ อัศวะธนกุล มาสานต่อแนวคิด Insure Tech
เทพพันธ์ อัศวะธนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การสร้างนวัตกรรมประกันภัยให้เกิดผล จะต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ คนในยุคปัจจุบันมีความสามารถที่จะเลือกในสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับตัวเขา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยจึงต้องสามารถปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลได้ (Personalization) ไว้วางใจได้ และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา (Trust & Accessibility) สองสิ่งนี้เกิดขึ้นได้จริงแล้วในวันนี้ ด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ Big Data พร้อมด้วย ระบบ Cloud แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลงมือทำที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความถี่ถ้วน เพื่อสร้างการบริการที่ครบวงจร และมีเสถียรภาพสูงที่สุดเพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภค
ต้นปีที่ผ่านมา ไทยวิวัฒน์ ได้เปิดตัว Marketing Campaign ด้วยคอนเซ็ปต์ “Control Your Life: อิสระการใช้ชีวิตที่เลือกได้” 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ประกันรถเปิดปิด และการประกันสุขภาพไทยวิวัฒน์ Active Health เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ให้ทางเลือกกับผู้บริโภคจ่ายค่าเบี้ยตามความเสี่ยงจริง ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 40% และเป็นการแสดงผลให้ผู้บริโภค แบบ Real-Time สามารถดู update ได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
โดย ประกันรถเปิดปิด เป็นประกันภัยเดียวที่กล้าให้ผู้ใช้รถ จ่ายค่าเบี้ยตามนาทีที่ขับจริง ใช้บริการได้อย่าง On-Demand เปิด-ปิดประกันได้ตามการใช้รถจริง ไม่ขับก็ไม่ต้องจ่ายค่าประกัน ทำให้ประหยัดกว่าประกันรถทั่วไปถึง 40% และยังได้รับความคุ้มครองครบถ้วนเหมือนประกันรายปีทั่วไป เพราะถึงไม่ได้ใช้รถแต่ก็ยังได้รับความคุ้มครองอื่นๆ ตลอด 24 ชม. ตามประเภทประกันที่ผู้บริโภคเลือกใช้
ขณะที่ ประกันสุขภาพไทยวิวัฒน์ Active Health เป็นรูปแบบการประกันสุขภาพที่มอบส่วนลดค่าเบี้ยประกันทุกเดือน เมื่อลูกค้าออกกำลังกาย ภายใต้ Slogan “ยิ่งออกกำลังกาย เบี้ยยิ่งลดทุกเดือน สูงสุดถึง 40%” เป็นรูปแบบการประกันที่นำ Wearable Technology ผสานกับการทำงานแบบ Data Driven สร้างแรงบัลดาลใจ ให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนผ่านกลไกนวัตกรรมประกันสุขภาพไทยวิวัฒน์ Active Health พร้อมทั้ง Features ต่างๆใน Applications ที่ช่วยให้ลูกค้าหันมาอยากออกกำลังกายเช่น การเปรียบเทียบคะแนนความ Active กับเพื่อนๆ หรือจะเป็น promotion กับ Boutique gyms ต่างๆ ที่สมาชิกลูกค้า ประกันสุขภาพไทยวิวัฒน์ Active Health สามารถเข้าร่วมได้ พร้อมทั้ง Tips & Tricks ของการดูแลสุขภาพทั้งเรื่องอาหารและการออกกำกังกายอย่างถูกต้อง
นอกจากผลประโยชน์ที่น่าสนใจและยุติธรรมที่มอบสำหรับผู้บริโภคแล้ว ยังถือเป็นบริษัทประกันภัยแรกของประเทศไทย ที่นำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT มาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปิดปิดประกันรถ อย่างอัตโนมัติ เมื่อสตาร์ท หรือ ดับเครื่องยนต์ ประกัน ก็จะเปิด หรือ ปิดให้โดยทันที พร้อมทั้งผู้ใช้งานสามารถเช็ค สถานะการใช้งานและระยะเวลาที่เหลืออยู่ ใน Application Thaivivat บน Smart Phone ได้โดยทันทีเช่นกัน ถือได้ว่าเป็น features ที่สะดวกและถูกใจผู้บริโภคอย่างมาก ผู้เอาประกันสามารถเพิ่มระยะเวลาความคุ้มครองได้ผ่านทาง Application ได้ตลอดเวลา และยังมีฟังก์ชั่นต่างๆ อีกมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถ เช่นการแจ้งเหตุและการค้นหาอู่ซ่อมหรือโรงพยาบาล ผ่านทาง Application เป็นต้น
ด้าน ดร.เฉลิมพล สายประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรม ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กล่าวว่า ความสามารถในการให้บริการด้านดิจิทัลของไทยวิวัฒน์ เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทได้มีการทดสอบระบบการรับและถ่ายโอนข้อมูลพร้อมทั้งประมวลผลแบบ real time บน platform ระบบ cloud ของทาง อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส(ประเทศไทย) หรือ AWS ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกรณีของการประกันรถแบบเปิดปิดได้ถึง 10,000 รีเควสต่อวินาที (concurrent users) ทำให้บริษัทยืนยันได้ว่าลูกค้าผู้เอาประกันภัยรถยนต์แบบเปิดปิดจะได้รับการบริการอย่างต่อเนื่องรวดเร็วตลอดระยะเวลาทำประกันภัยกับทางบริษัท
“ด้วยชื่อเสียงของการเป็นผู้ให้บริการ cloud ระดับโลก ทำให้เราเชื่อมั่นในการเลือกพัฒนานวัตกรรมการบริการรูปแบบใหม่ๆ ของเราบน platlform ของ AWS โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความน่าเชื่อถือ (reliability) รวมทั้งการรับประกันการทำงานถึง 99.99 เปอร์เซนต์ ทำให้เราเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถทำงานและให้บริการลูกค้าได้โดยไม่มีการหยุดชะงัก (downtime) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มลูกค้าด้านการประกันรถยนต์ที่ต้องมีการให้บริการในแบบเรียล-ไทม์” ดร.เฉลิมพล กล่าว
“แม้ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ยังนิยมการซื้อประกันผ่านช่องทางเดิมๆ เช่น พนักงานขาย แต่ไทยวิวัฒน์ก็ต้องสร้างแพลตฟอร์ดิจิทัลเหล่านี้รองรับไว้ เพราะแม้ตลาดยังเล็ก แต่การเติบโตสูงมาก และยังพร้อมที่จะลงทุนด้านอินโนเวชั่นต่อไป แม้การเป็นผู้นำในการนำอินโนเวชั่นมาใช้ จะต้องลงทุนสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริโภค หากมองเห็นโอกาสในการสร้างการเติบโต ก็พร้อมที่จะลงทุน”
ด้าน ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว AWS เป็นองค์การที่มีการคิดค้นอินโนเวชั่นใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ยมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นได้ 4-5 ชิ้นต่อวัน แต่เหนืออื่นใด นวัตกรรมจะใช้ประโยชน์ได้ ลูกค้าต้องมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ ซึ่งวิสัยทัศน์ของประกันภัยไทยวิวัฒน์สอดคล้องกับแนวทางของ AWS ที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละราย (individualization) ให้ดีที่สุด และสมบูรณ์ที่สุดด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ได้รับการออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก มีความยืดหยุ่นตามความต้องการและลักษณะการใช้งานของลูกค้า ซึ่งมาพร้อมกับความปลอดภัย (security) ความเชื่อถือได้ของระบบ (reliability) และความมีเสถียรภาพสูงสุด
ทั้งนี้ บริการที่ประกันภัยไทยวิวิวัฒน์เลือกใช้ประกอบด้วยกัน อาทิ Amazon Elastic Compute Cloud (Amazon EC2) บริการเว็บที่ให้ความสามารถด้านการประมวลผลที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้บนระบบคลาวด์ AWS Lambda ซึ่งเป็นบริการประมวลผลและจัดการทรัพยากรการประมวลผลพื้นฐานโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังมี AWS CloudWatch ที่ช่วยให้สามารถมอนิเตอร์แอปพลิเคชันได้ในระดับ 1 วินาที AWS Elastic Beanstalk AWS API Gateway และอื่นๆ เป็นต้น