พช. มุ่งสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อเนื่องจุดดำเนินการที่ 2 ผ้ามัดยอมเทคนิค “ชิโบริ” ย้อมสีธรรมชาติ

143

เมื่อเร็วๆนี้ ณ ที่ทำการกลุ่มครามคูน ผ้ามัดย้อมเทคนิค “ชิโบริ“ ย้อมจากสีธรรมชาติ หมู่ที่ 1 ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้ ริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและวิทยากร ได้แก่ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต แฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่งวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ดร.กิติศักดิ์ เยาวนนท์ รักษาราชการแทน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนากายภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ดร.ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล อาจารย์พิเศษ Vice president- Retail business strategy and innovation,  ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ดร.ฐิศิรักน์ โปตะวณิช อาจารย์ประจำวิชาเอกการจัดการธุรกิจไซเบอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการนี้ นวภัทร หอมหวล พัฒนาการจังหวัดตรัง พร้อมด้วย วะดี จักรราช ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน, สินิทธิ์ ขวัญนิมิตร พัฒนาการอำเภอเมืองตรัง หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และสมาชิกในชุมชนทุ่งตำเสา เข้าร่วมในการประชุมฯ

ทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

โดยได้รับเกียรติจาก ทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้พบปะ ให้กำลังใจผู้เข้าอบรม โดยกล่าวว่า ขอให้ผู้เข้ารับการอบรม รวมถึงผู้นำชุมชนตั้งใจร่วมกิจกรรม เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนชุมชนให้ยั่งยืน ถือเป็นโอกาสที่ดีในการรับความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้ให้ความรู้และข้อชี้แนะในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำภูมิปัญญญา อัตลักษณ์ ของชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

โครงการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เป็นการจัดเก็บและบันทึกภูมิปัญญาสำคัญของชุมชน นำมาถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยตรงตามความต้องการของตลาด ผ่าน 3 กิจกกรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน กิจกรรมที่ 2 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมเปิดตัวชุมชนภูมิปัญญาพร้อมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  ซึ่งการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน โดยนำภูมิปัญญามาพัฒนาให้เกิดผลงานอันทรงคุณค่า ตรงตามความต้องการของตลาด