ผลสำรวจเผย คนไทยเดินทางเพิ่มมากขึ้น69% ตั้งใจที่จะเดินทางในเดือนมิถุนายนถึงกันยายนนี้

258

ยุโรป แอสซิสแทนซ์ (Europ Assistance) เผยผลสำรวจ Holiday Barometer ประจำปี ครั้งที่ 21  โดยข้อมูลจากทั่วโลกเผยว่า ผู้คนมีความต้องการในการเดินทางเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีระดับที่สูงกว่าปี 2562 และ 69% ของคนไทยตั้งใจที่จะเดินทางในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน เพิ่มขึ้น 25 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564

จูเลีย ริกค์ หัวหน้าฝ่ายการเดินทางระหว่างประเทศของ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า “ความคิดที่อยากจะเดินทางเพิ่มมากขึ้นในปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นเต้นสำหรับนักเดินทาง ซึ่งสูงกว่าก่อนเกิดโรคระบาด  เมื่อเทียบกับปี 2564 เราพบว่าการเดินทางระหว่างประเทศได้กลับมาสูงอีกครั้งและงบที่ตั้งใจไว้ไปพักผ่อนเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเอื้อต่อการเดินทางโดยเครื่องบินและการเดินทางไป จุดหมายปลายทางอย่างเมืองใหญ่”

“อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีผลในการตัดสินใจแต่ไม่หยุดยั้งแผนในการเดินทางท่องเที่ยวเนื่องจากผู้คนมีความกระตือรือร้นที่จะเดินทาง หลังจากมีข้อจำกัดอย่างต่อเนื่องในสองปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของการเดินทางในปีนี้ การจองทริปและประกันการเดินทางกลายเป็นอะไรทีนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น” จูเลีย ริกค์ กล่าวเสริม

งบประมาณในการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยควรที่จะสูงกว่าปี 2564 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ถูกจำกัดโดยเงินเฟ้อ

รายงานเผยว่านักท่องเที่ยวตั้งงบประมาณการเดินทางในปีนี้สูงกว่าในปี 2564: คนอเมริกันตั้งใจที่จะใช้จ่ายเพิ่มอีก 440 ดอลลาร์สหรัฐ โดยงบประมาณทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2,760 ดอลลาร์สหรัฐ (+19% เมื่อเทียบกับปี 2564) ในยุโรป งบประมาณช่วงวันหยุดเทศกาลอยู่ที่ประมาณ 1,800 ยูโร (+220 ยูโร, +14% เมื่อเทียบกับปี 2564) และงบประมาณวันหยุดที่คนไทยตั้งใจจะใช้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 โดยเพิ่มขึ้น 18% (62,800 บาท)

ในปี 2565 ผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบในการตัดสินใจที่จะเดินทางในปีนี้: โดย 69% ของชาวยุโรป, 62% ของชาวอเมริกัน, 70% ของชาวแคนาดา, 63% ของชาวออสเตรเลีย และ 77% ของคนไทย บอกว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ นอกจากนี้ การเฝ้าระวังด้านการเงินยังถูกกล่าวว่าเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ส่งผลให้ตัดสินใจไม่เดินทาง โดย 41% ของชาวยุโรปเลือกไม่เดินทางในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน (+14 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564) 45% ของชาวอเมริกัน (+9 จุด) และ 34% ของคนไทย (+10 จุด) เนื่องจากสาเหตุดังกล่าว

โควิด-19 ยังคงมีผลในการตัดสินใจสำหรับนักเดินทาง แต่ลดความสำคัญลง

โดยรวมแล้ว ระดับความกังวลของทั่วโลกเกี่ยวกับโควิด-19 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องแผนการเดินทางและการพักผ่อน โดย 53% ของชาวยุโรปและ 46% ของชาวอเมริกัน เผยว่าโควิด-19 มีผลกระทบต่อความต้องการในการเดินทาง อย่างไรก็ตามโควิด-19 ยังคงมีผลกระทบสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวแคนาดาหรือชาวออสเตรเลีย (60%) และยังคงมีปริมาณสูงในหมู่คนไทย (81%)

นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพยังคงเป็นปัจจัยสำคัญเมื่อคิดถึงการเดินทางครั้งต่อไปของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย รองลงมาคืออัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าความกังวลด้านโควิด-19 จะลดลง คนไทยยังคงเลือกที่จะไปเที่ยวอย่างระมัดระวังโดยหลีกเลี่ยงบางประเทศ อย่างไรก็ตาม ระดับความระมัดระวังได้ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2564 และเมื่อคิดถึงการเดินทางครั้งต่อไป ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยังคงรู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตสุขอนามัย แต่มีระดับน้อยกว่าปีที่แล้ว และความปรารถนาที่จะเดินทางไปต่างประเทศเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ฉีดวัคซีนอีกด้วย

ความกังวลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ที่ลดลง ได้ทำให้การท่องเที่ยวในเมือง มีความน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวอีกครั้ง แม้ว่าในประเทศไทย การท่องเที่ยวในเมือง จะยังคงได้รับความนิยมน้อยกว่าชายทะเล (58% เทียบกับ 37%) และสถานที่เที่ยวนอกเมืองกับภูเขา

จากข้อมูลเผยว่าในเกือบทุกประเทศ ระดับการจองทริปโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยมีการจองทริปสำหรับวันหยุดล่วงหน้าเร็วขึ้นกว่าปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีเตรียมการดีที่สุด ซึ่งมากกว่า 50% ได้ทำการรจองบางส่วนของแผนการเดินทางไว้เรียบร้อยแล้ว

โควิด-19 ถือว่ามีผลต่อพฤติกรรมการซื้อประกันการเดินทาง เนื่องจากความต้องการการคุ้มครองที่มากขึ้นด้วยประกันการเดินทางดูเหมือนจะเป็นสิ่งสำคัญของเกือบทุกประเทศที่ได้ทำการสำรวจ โดยมีจำนวนสูงเป็นพิเศษในเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย 75%, ออสเตรเลีย 54%), ในสหราชอาณาจักร (49%) หรือในยุโรปใต้ (สเปน 50%, อิตาลี และโปรตุเกส 45%)

การเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ในทุกประเทศ: 48% (+13 จุด) ของชาวยุโรป, 36% (+11จุด) ของชาวอเมริกัน และ 56% (+7 จุด) ของคนไทยที่ตั้งใจจะเดินทางไปต่างประเทศในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่คุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ: อังกฤษ (+24 จุด), สวิส (+7 จุด) และเบลเยียม (+7 จุด) จะออกเดินทางไปเมืองนอกกันมากขึ้น

เมื่อเลือกเดินทางไปต่างประเทศ นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนมากจะเลือกประเทศที่อยู่ไม่ไกลจนเกินไป โดยประเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือญี่ปุ่น รองลงมาคือเกาหลีใต้และสิงคโปร์ โดย สภาพอากาศและการความคุ้นเคยของประเทศนั้นๆ ถือเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการเลือกจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย นอกจากนี้ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกประเทศ 

นักท่องเที่ยวได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง ล้อไปกับการเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว สองการเดินทางที่เป็นที่นิยมยังคงเป็นเครื่องบินและรถยนต์ (46% และ 45% ของคนไทยชอบการเดินทางสองรูปแบบนี้) รถไฟหรือรถประจำทางได้รับการใช้น้อยกว่า

สถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้วหรือไม่?

เมื่อถามเกี่ยวกับการกลับสู่ “สภาวะปกติ” ของการเดินทาง แต่ละประเทศมีมุมมองที่แตกต่างกันไป ชาวไทย ออสเตรเลีย และออสเตรียเป็นกลุ่มทีมิงว่าสถานการ์ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยครึ่งของประชากรในประเทศเหล่านี้คิดว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติได้ในปี 2567 หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่มีวันกลับมาเป็นปกติเลย ในทางตรงกันข้าม ชาวโปแลนด์ เช็ก หรือสวิสเป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่ดีมากที่สุด โดยเกือบ 4 ใน 10 กล่าวว่าสถานการณ์เกือบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว

อย่างไรก็ตามโควิด-19 มีผลทำให้นิสัยของผู้คนเปลี่ยนไป ซึ่งหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรเผยว่า พวกเขาจะทำงานนอกสถานที่และไปพักผ่อนพร้อมๆกัน (“workcation หรือ การทำงานและเที่ยวไปด้วย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนไทย (70%)

เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัว ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป ได้เปิดตัวแคมเปญโซเชียลมีเดียในหลายประเทศ  เปิดตัววิดีโอที่สร้างจากเรื่องจริงของลูกค้าจำนวน 3 เรื่อง ภายใต้แคมเปญแฮชแท็ก #FromDistressToReliefโดยจุดประสงค์ของแคมเปญ คือ การแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีพาร์ทเนอร์ที่ไว้ใจได้ในการช่วยดูแลผลประโยชน์จากความช่วยเหลือทางการแพทย์ด้านการเดินทางทั่วโลก รวมไปถึงความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และพันธมิตรทางการแพทย์ของยุโรป แอสซิสแทนซ์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.europ-assistance.com/from-distress-to-relief-international/

วิธีการสำรวจ

การสำรวจออนไลน์ประจำปี 2565 จัดทำขึ้นโดย Ipsos ตามข้อกำหนดของ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ สำรวจนักท่องเที่ยวใน 15 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย โปรตุเกส ไทยและ ออสเตรเลีย โดยในแต่ละประเทศมีผู้ทำแบบสำรวจ 1,000 คนที่อายุมากกว่า 18 ปี การสำรวจมีการเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ถึง 16 พฤษภาคม เพื่อตรวจสอบตารางไปเที่ยวผู้บริโภคและความชอบด้านการเดินทาง