ก้าวข้ามกับดักการตลาดอุตสาหกรรมการเกษตร ต้นตอปัญหาประเทศยุค4.0

2509

โดย  ไกรกิติ ทิพกนก   กรรมการผู้จัดการ บริษัท ก้องมหาสมุทร จำกัด         “สุดยอดนักบริหาร นักจัดการรุ่นใหม่ ” 

 

มีคำถามว่าในวันที่โลกเริ่มโหยหาเศรษฐกิจสีเขียว ระบบเกษตรเคมีกลายเป็นผู้ร้ายที่เราจับได้ไล่ทันแล้วนั้น มันถึงเวลารึยังที่เราต้องหารูปแบบวิธีการที่สามารถทำให้เกษตรกร เลิกจน และผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น?

ประเทศไทยตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมที่สุดแห่งหนึ่ง สำหรับการเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก มีความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากการเกษตรที่ขึ้นชื่อและทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว มังคุด ทุเรียน มะม่วง ฯลฯ รวมทั้งสินค้าสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น แต่ การพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาได้เน้นการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนำเข้าเทคโนโลยีระดับสูง ทำให้การพัฒนาด้านการเกษตรมุ่งไปสู่การเกษตรที่ใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิตและตอบสนองการขยายตัวของอุตสาหกรรม จนทำให้ธรรมชาติและสุขภาพของประชาชนไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร

แม้ในสองทศวรรษหลังภาคเกษตรมีความพยายามในการปรับตัวค่อนสูงเรื่อง Organic  แต่ด้วยที่ยังขาดความก้าวหน้าของทุนทางสังคม รวมถึงยังขาดความรู้วิธีการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ทำให้เรายังไม่สามารถต้านทานกระแสอุตสาหกรรมอาหารโลกที่เราเป็นเพียง ”ผู้ตาม” ได้  ยิ่งเมื่อสินค้าการเกษตรนั้นถูกผนวกเข้ากับระบบการค้าในระบบอุตสาหกรรม ที่ต้องการสินค้าปริมาณมากเพื่อป้อนสู่ระบบการผลิตในโรงงาน ก็ยิ่งบีบบังคับให้เกษตรกรมีการนำเข้าปุ๋ยเคมี และสารเคมีจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมากเพื่อเร่งผลผลิตที่ขายได้ให้ออกสู่ตลาดจำนวนมากๆและให้ทันความต้องการของอุตสาหกรม  ก่อให้เกิด ปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินเป็นกรด เกิดการตกค้างของสารเคมี ซึ่งกลายมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าของตลาดโลกเป็นผลให้สินค้าทางการเกษตร อันเป็นผลผลิตหลักของประเทศเราถูกจำกัดตลาดให้แคบลง และราคาที่ต่ำอยู่และยิ่งตกต่ำกว่าเดิม

ยิ่งไปกว่านั้นความเจริญด้านการสื่อสารได้สร้างกลไกตลาดที่ไม่สมดุล ผ่านการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ถูกคั้นกลางจาก   กลุ่มพ่อค้า นายทุนจากภายนอก ที่อาศัยพลังของสื่อเข้ามากำหนดทิศทางการบริโภคของตลาดและราคาผลผลิตแทนเกษตรกร ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตที่รู้ไม่เท่าทันไม่อาจผลิตได้ถูกต้องตรงกับปริมาณความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค จนผลิตผลที่ออกมามีทั้งมากเกินที่ต้องการหรือน้อยเสียจนขาดแคลน

ทั้งสองสิ่งนี้ไม่เพียงจะทำให้เราสูญเสียเงินตราของประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท ยังสร้างปัญหาชาติเหมือนงูกินหาง แก้ไม่จบสิ้นเป็นที่มาของปัญหาด้านเศรษฐกิจ สู่ปัญหาสังคมการเมืองและความมั่นคงในที่สุด

แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ่วนแล้ว  ต้นตอของปัญหาที่แท้อาจไม่ใช่ระบบการตลาด หากแต่คือ “ระบบการศึกษา” ที่ไม่ได้รับการแก้ไขให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร อย่างแท้จริง  จึงทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคไม่มีความรู้มากพอจนสามารถรับมือกับกลยุทธ์การตลาดของผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตรได้ทัน

การพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรสมัยใหม่เพื่อรับมือกับระบบตลาดอุตสาหกรรมการเกษตร จึงจำเป็นต้องอาศัยเรี่ยวแรง ความรู้และความตั้งใจของที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อนเฟืองสำคัญซึ่งก็คือ“การศึกษา” ผ่าน“องค์กรการศึกษา“ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในหน่วยย่อย คือ บ้าน จนถึงหน่วยใหญ่อย่าง ชุมชนท้องถิ่น ชมรม สมาคม สถาบันการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ ไปจนถึง “องค์กรสิ่อมวลชน” ที่จำเป็นต้องมาเล่นบทบาทสำคัญในฐานะ “ครู” ผู้ให้ความรู้และผู้สร้าง  “ผู้บริโภคที่มีคุณภาพ” และ“ผู้ผลิตที่มีคุณภาพ”

ซึ่งประเด็นสำคัญที่องค์กรภาคการศึกษาและสื่อมวลชนอาจต้องทำร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้แก่

1. จัดองค์ความรู้ใหม่ๆให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกร และความต้องการทางภาคเกษตร
2. การถ่ายทอดความรู้ทางธุรกิจเกษตรยุคใหม่ที่รับผิดชอบต่อธรรมชาติและผู้คนแก่ บุคคลากรการเกษตรรุ่นใหม่ที่       กำลังเติบโตขึ้นให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงและสามารถประยุกต์ดัดแปลงกลยุทธ์ในการทำงานให้สามารถรับมือ     กับปัญหาและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น
3. การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและเครือข่ายผู้บริโภค ที่มีค่านิยมร่วมกัน และมีจิตวิญญาณร่วมกันที่มุ่งมั่นในการสร้าง     สิ่งดีๆให้แก่แผ่นดินเกิด
4. ร่วมกันพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปาทานที่เชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
5. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ทั้งในระบบ Internet, Mobile , Intranet ตลอดจนระบบ ICT เพื่อ         ควบคุมคุณภาพการผลิตของสินค้าเกษตร
6. การพัฒนาความเป็นมืออาชีพในการบริหารFarmและจัดการตลาดทั้ง Online และ On ground ให้สอดคล้อง       กับระบบการค้าโลกที่มีความต้องการสินค้าเกษตร Organic และ สินค้าเกษตรOrganic แปรรูปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
7. การวางแผนพัฒนาระบบธุรกิจการเกษตรที่ มีวิสัยทัศน์การดำเนินงานมุ่งสู่อนาคต อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง มีเป้าหมาย     และทิศทางที่ชัดเจน ทั้งธุรกิจต้นน้ำ กลางน้า และ ปลายน้ำ

เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของทุนทางสังคม และปลูกฝังวิธีการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว จนบรรลุการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยแพลทฟอร์มที่ถูกต้องในการสร้าง New Organic Startup ทางด้านเทคโนโลยการเกษตร(Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) ในกลุ่มอาหารเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio Tech )

หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงก็เชื่อว่า คนไทยทุกคนคงจะ “อยู่ดีกินดี” ตามยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0 ที่อยากเห็นว่า…

1. เราเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั่งเดิม(Traditional Framing)ในปัจจุบันไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหาร     จัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกร ต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรแบบผู้ประกอบการ           (Entrepreneur)
2. เราเปลี่ยนจาก Traditional SMEs ที่มีอยู่ ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart             Enterprises และ Startup ที่มีศักยภาพสูง
3. เราเปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ Hight Value Service
4. เราได้เห็นวิถีของคนรุ่นใหม่ทีมีทักษะทางการเกษตรความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

สมเจตนารมณ์ Thailand 4.0 เพื่อความ “มั่งคั่ง มั่นคง และ ยั่งยืน” ของคนไทยทุกคน